วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สารคดี

( สุชัญญา วงค์เวสช์ เรียบเรียง )
มวยไทย มรดกชาติ

เมื่อถึงวันเสาร์ อาทิตย์ ฉันจะรู้สึกมีความสุขมากที่จะได้พักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้นั่งดูรายการโทรทัศน์ที่โปรดปราน แต่ความสุขมักจะย่อมมีอุปสรรคมาขัดขวาง นั่นคือ พ่อชอบแย่งดูรายการ “มวยไทย” ตอนนั้นฉัน คิดว่ามันเป็นอะไรที่น่าเบื่อที่สุด และเป็นกีฬาที่รุนแรง แต่พอฝืนใจลองทนนั่งดู สักพักกับเห็นชาวต่างชาติให้ความสนใจในกีฬามวยไทยมาก มันทำให้ฉันคิดได้ว่าเราเองเป็นคนไทยควรที่จะอนุรักษ์ส่งเสริมกีฬาไทยซึ่งเป็นมรดกของชาติ ฉันเลยไปค้นคว้าหาความรู้เรื่องมวยไทยไว้เผยแพร่ต่อไปมวยไทยเป็นวิชาการต่อสู้และป้องกันตัวที่ยืนหยัดสืบต่อกันมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปี มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากมวยต่างประเทศ คือ มวยไทยต้องใช้อาวุธทุกส่วน และต้องอาศัยกำลังกาย กำลังใจ สติปัญญาในการต่อสู้ ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยใช้อวัยวะเป็นอาวุธธรรมชาติที่มีมาแต่กำเนิดมวยไทยได้ขึ้นชื่อว่ากำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการก่อร่างสร้างตัวของชาติ ในสมัยนั้นได้มีการรบราฆ่าฟันระหว่างชนชาติใกล้เคียงตลอดเวลา เพื่อแย่งชิง และครอบครองดินแดนต่างๆ ชาติไทยจึงต้องมีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับข้าศึกเพื่อป้องกันชาติ ในสมัยนั้นอาวุธต่างๆยังไม่เจริญมากนัก คนโบราณจำเป็นต้องสู้รบโดยใช้อาวุธธรรมชาติ คือ หมัด ศอก เข่า เตะ เข้าต่อสู้กับเหล่าศัตรูทั้งหลาย เพราะเหตุนี้มวยไทยจึงได้รับความนิยมฝึกหัดในหมู่นักรบสมัยโบราณเรื่อยมา มวยไทยนอกจากจะเป็น การต่อสู้ที่ได้มีส่วนกอบกู้อิสรภาพ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว ยังเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นมรดก และสร้างชื่อเสียงให้กับ ชาติไทย นั่นคือ “การไหว้ครูมวย” เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความอ่อนน้อม ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่เคยมีต่อตน ก่อให้เกิดการหวนรำลึกถึง พระคุณครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิทยาการมวยไทยให้ การไหว้ครูจึงส่งผลให้มวยไทยต้องประกอบไปด้วยลักษณะของการว่าง่าย ความรู้จริง กล้าหาญ อดทน มีน้ำใจและกตัญญูซื่อสัตย์ หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไปแล้วก็จะไม่เรียกว่ามวยไทยที่สมบูรณ์ เมื่อพลิกประวัติศาสตร์ชาติไทย เราจะได้เห็นความสำคัญของมวยไทย ที่ได้แสดงออกถึงฤทธิ์เดชและอานุภาพที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามวยชาติใดๆ นักมวยไทยที่สร้างความเลื่องลื่อของศิลปะมวยไทย ในดินแดนมอญ พม่า นั่นคือ นายขนมต้มที่สามารถปราบนักมวยเอกของพม่า 9 คน ติด ๆ กัน ต่อหน้าพระที่นั่งของพระเจ้าอังวะ ในงานฉลองยกฉัตร พระมหาเจดีย์ธาตุ ทำให้พระเจ้าอังวะถึงกับตบพระอุระตรัสสรรเสริญมวยไทยว่า “...ไทยมีพิษสงอยู่ที่ตัวแม้มือเปล่า ๆ ไม่มีอาวุธเลย คนเดียวแท้ ๆ ก็ยังเอาชนะคนได้เป็นจำนวนมาก มีฝีมือมวยแสนวิเศษ...” ต่อมาจึงมีคำกล่าวถึงมวยไทยและนายขนมต้มว่า

อันมวยใดไป่แม้น มวยไทย
หมัดเข่าเท้าศอกไว ว่องแท้
แม้ร่างเล็กแต่ใจเด็ดเดี่ยว จริงแฮ
มอญพม่าทั้งเก้าแพ้ พ่ายสิ้นมวยไทย
ขนมต้มนามท่านนี้ โด่งดัง จริงเฮย
ลับแต่ชีพนามยัง เด่นไซร้
เรานี้เกิดภายหลัง ยังทราบได้นา
นำเกียรติสู่ชาติได้ พรรคพร้องสรรเสริญ
จะเห็นได้ว่าตำนานของมวยไทยมีความสำคัญ และมีคุณค่ามากต่อชาติไทย
ที่มีส่วนในการป้องกันประเทศกอบกู้อิสรภาพให้ชาติ และยังสร้างชื่อเสียงอันเป็นเกียรติภูมิต่อประเทศ ถือได้ว่ามวยไทยเป็นมรดกที่คนไทยควรอนุรักษ์ และสืบสานต่อไป ศิลปะมวยไทยในปัจจุบันกำลังเสื่อมและสูญหายไป เพราะคนไทยไม่สนับสนุนและส่งเสริม แต่กลับไปให้ความนิยมกับศิลปะการต่อสู้ของชาวต่างชาติ มรดกชิ้นสุดท้ายทางวัฒนธรรมของไทยเริ่มเสื่อมลง เมื่อถูกชาวต่างชาตินำไปลอกเลียนแบบและตั้งเป็นศิลปะของเขา ซ้ำยังย่ำยีนักมวยไทยจนสลบคาเวทีต่างชาติมานักต่อนักแล้ว ... แบบนี้ลูกหลานคนไทยยังทนนิ่งดูดายต่อไปได้อีก
********************************************************************

ข่าวแจก



สวนดุสิตประกาศเน้น 4 สาขารุกสร้างจุดแข็งมหาวิทยาลัย

"มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต" จัดเป็นมหาวิทยาลัยที่นักศึกษามีความต้องการเข้าศึกษาต่อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชื่อเสียงทางด้านการทำขนมเบเกอรีทีได้รับการยอมรับว่ารสชาติเป็นเลิศ

ภายใต้การบริหารงานของ ผศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธ์ธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏดุสิต(มสด.) จะสร้างอัตลักษณ์ของตนเองได้เด่นชัดที่สุด ซึ่ง ศ.ดร.ศิโรจน์ เปิดเผยว่า มสด.มีความ โดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนใน 4 สาขา ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมอาหาร สาขาอุตสาหกรรมการโรงแรม และการบริการ สาขาการศึกษาปฐมวัย และสาขาพยาบาลศาสตร์ และการดูแลผู้สูงวัย ในอนาคต มสด.จะพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งในหลักสูตรเฉพาะทางทั้ง 4 ด้าน ยิ่งขึ้นไปอีก

"เราจะปรับลดจำนวนการรับนักศึกษาลงด้วย ซึ่งปีการศึกษาที่ผ่านมารับอยู่ที่ 5,500 คน ปีการศึกษานี้เรารับเพียง 3,500 คน และปีต่อไปจะรับนักศึกษาเพียง 2,500 คน และจะยืนพื้นรับนักศึกษาอยู่เพียง 2,500 คน เท่านั้น เพื่อสร้างนักศึกษาให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของมหาวิทยาลัย"

อธิการบดี มสด. กล่าวอีกว่า ขณะนี้การก่อสร้าง อาคารเรียนภายใน มสด. ใกล้แล้วเสร็จแล้ว ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะดึงเอานักศึกษาที่เรียนอยู่ตามศูนย์ต่างๆ ใน กทม.และปริมณฑลกลับเข้ามาเรียนภายในมหาวิทยาลัย โดยได้ยุบศูนย์การเรียน มสด.ใน กทม. และเขตปริมณฑลไปแล้ว 4 ศูนย์ เหลือเพียง 2 ศูนย์เท่านั้น ที่เหลือเป็นศูนย์ฯที่เปิดสอนอยู่ในต่างจังหวัด และแม้ว่านักศึกษาในต่างจังหวัดจะต้องเรียนในศูนย์ฯ แต่การเรียนการสอนจะมีมาตรฐานเทียบเท่ากับนักศึกษาส่วนกลาง เพราะเราใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงไปยังศูนย์ฯ ทำให้การเรียนไม่ต่างจากในสถาบัน "เราตั้งเป้าหมายไว้เลยว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสวนดุสิตจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี เชี่ยวชาญในเรื่องที่เขาศึกษา ซึ่งแต่ละสาขาก็จะสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้บัณฑิต ที่จบออกไปจะต้องมีความสามารถในการใช้ภาษา และเทคโนโลยีได้อย่างดี" ด้านคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของบัณฑิต มสด. ดังกล่าว ผศ.ดร.ศิโรจน์จึงได้มีนโยบายแจกคอมพิวเตอร์ แบบพกพา หรือโน้ตบุ๊กให้แก่นักศึกษา โดยนักศึกษาที่เข้ามารายงานตัวเรียนกับทางสวนดุสิต หากมีผลการเรียนในภาคเรียนแรกเกิน 1.6 ก็จะได้รับโน้ตบุ๊กไปใช้ ซึ่งทุกปีต้องนำโน้ตบุ๊กมาตรวจสภาพกับ มสด. แต่หากนักศึกษาเรียนจบปีที่ 3 โน้ตบุ๊กจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เรียนเลย โดยไม่ต้องนำเครื่องมาคืน "ในแต่ละปีเราจะใช้งบประมาณสำหรับแจกโน้ตบุ๊กให้นักศึกษาปีละประมาณ 135 ล้านบาท ที่เราทำโครงการนี้เพราะหลักสูตรของเรามีการทำเป็น e-learning ที่นักศึกษาสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ การแจกโน้ตบุ๊กมาตรวจสภาพกับ มสด.แต่หากนักศึกษาเรียนจบปีที่ 3 โน้ตบุ๊กจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เรียนเลย โดยไม่ต้องนำเครื่องมาคืน "ในแต่ละปีเราจะใช้งบประมาณสำหรับแจกโน้ตบุ๊กให้นักศึกษาปีละประมาณ 135 ล้านบาท ที่เราทำโครงการนี้เพราะหลักสูตรของเรามีการทำเป็น e-learning ที่นักศึกษาสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ การแจกโน้ตบุ๊กทำให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการเรียน ทำรายงาน หรือ เข้าห้องสมุดจากที่บ้านได้โดยภายในมหาวิทยาลัยเราก็จะติดระบบไวร์เลส ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โน้ตบุ๊กได้อย่างเต็มที่ด้วย และหากเราไม่แจกโน้ตบุ๊ก เราก็ต้องเสียงบประมาณจัดหาคอมพิวเตอร์ไว้ให้นักศึกษาใช้ ซึ่งเราต้องทำห้องสำหรับเก็บคอมพิวเตอร์ ต้องเสียค่าซ่อม บำรุง และดูแลรักษา ตลอดจนการทำระบบรองรับสิ่งเหล่านี้เป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกปี และคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซื้อมาไม่นานก็มีการปรับเปลี่ยนใหม่ ดังนั้น การซื้อโน้ตบุ๊กแจกนักศึกษาจึงถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก และนักศึกษาก็สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาด้วย ซึ่งในอนาคตการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน"

อธิการบดี มสด.ยังได้กล่าวถึงหลักสูตรการศึกษาพิเศษของ มสด.ที่ถือว่ามีความโดดเด่นอย่างมากว่า ขณะนี้เปิดสอนระดับปริญญาโท โดยไม่ได้เปิดรับในหลักสูตรปกติมา 3 ปีแล้ว เนื่องจาก พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้กำหนดว่า ผู้ที่จะสอนเด็กพิเศษได้จะต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษาพิเศษระดับปริญญาโท แต่หลักสูตรที่เปิดสอนมาก่อนหน้านั้น เป็นหลักสูตร 5 ปี ดังนั้น บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปจึงไม่สามารถไปเป็นครูผู้สอนเด็กพิเศษได้ ทำให้ต้องเปิดหลักสูตรปริญญาโทเพื่อรองรับบัณฑิตที่จบการศึกษาหลักสูตร 5 ปีของสวนดุสิต และจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่นๆ อีก 11 แห่งที่เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว โดยมีเป้าหมายว่า จะยังไม่เปิดสอนหลักสูตร 5 ปี จนกว่าบัณฑิตหลักสูตร 5 ปี จะสำเร็จปริญญาโทเป็นส่วนใหญ่ แต่จะเปิดหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษในระดับปริญญาเอกเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้ เพื่อให้บัณฑิตกลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างแท้จริง "การที่หลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษของสวนดุสิตได้รับการยอมรับอย่างมากนั้น เป็นเพราะแต่ละปีเราจะมีเด็กพิเศษ ทั้งผู้พิการ ทางสายตา ผู้พิการทางหู ผู้พิการแขนขา หรือผู้พิการด้านอื่นๆ เข้ามาศึกษาด้วย ทำให้เรามีพัฒนาการในการเรียนการสอนไปมาก เพราะเขาเป็นผู้ประสบปัญหาอย่างแท้จริง และเมื่อเรียนจบผู้พิการที่จบจากสวนดุสิตก็ได้กลับไปทำงานเพื่อกลุ่มเด็กพิเศษจริงๆ ด้วย"

"ในอนาคตผมวางเป้าหมายสำหรับสวนดุสิตไว้ว่า เมื่อพูดถึงหลักสูตรเรื่องอาหาร ต้องนึกถึงสวนดุสิต เมื่อพูดถึงการโรงแรมก็ต้องนึกถึงสวนดุสิต เมื่อพูดถึงหลักสูตรปฐมวัยก็ต้องที่สวนดุสิต และหากพูดเรื่องพยาบาลศาสตร์ หรือการดูแลผู้สูงวัย ก็ต้องที่นี่ เราจะเอาจุดแข็งของเราไปแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ และผลักดันให้เป็นมหาวิทยาลัยในระดับแถวหน้าได้อย่างแน่นอน" ผศ.ดร.ศิโรจน์สรุป

ฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
เบอร์ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ 02-244-5101